วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หลุมดำ

หลุมดำ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลุมดำ (อังกฤษ: black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก (ไม่ได้เป็น "หลุม" อย่างชื่อ) ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ (Schwarzchild radius) ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่นักดาราศาสตร์ก็มีวิธีอื่นในการค้นหา และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง
หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกภาวะ (singularity)
หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร หลุมดำขนาดกลาง หลุมดำจากดาวฤกษ์ที่เกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์ และ หลุมดำจิ๋ว หรือ หลุมดำเชิงควอนตัม
แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ
แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาซ ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้
ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นเอกภาวะที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง (Hawking radiation) และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วัยทอง


วัยทองมักจะเป็นคำเรียกผู้ที่ก้าวเข้าสู่ช่วงความเปลี่ยนแปลงของชีวิตจากวัยผู้ใหญ่ ไปเป็นผู้สูงอายุ โดยทั่ว ๆ ไปวัยทองจะเริ่มขึ้นเมื่อคนเรามีอายุ 40 ปีขึ้นไป หลาย ๆ คนไม่อยากจะก้าวเข้าสู่ช่วงของวัยทอง เพราะได้ยินได้ฟังมาว่า คนในวัยนี้จะเกิดความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอารมณ์ เกิดความหงุดหงิด ไม่สบายเนื้อสบายตัว จนทำให้คนรอบข้างต้องได้รับผลกระทบไปด้วย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงวัยทองได้ แต่เราก็สามารถที่จะอยู่ได้อย่างสุขสบายในวัยทอง ถ้ามีการปฏิบัติตัวและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้อง นพ.สมนิมิตร มีคำแนะนำสำหรับการก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างมีคุณภาพ
หลาย ๆ มีความเข้าใจว่า วัยทองคือวัยหมดประจำเดือน แต่จริง ๆ แล้ววัยทองจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนหมดประจำเดือน โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะอยู่ในช่วงระหว่างอายุ 40-45 ปี และจะเกิดขึ้นกับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ผู้หญิงจะกลัวและวิตกกังวลกับการก้าวเข้าสู่วัยทองมากกว่า เพราะจะได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา เช่น เข้าวัยทองแล้วจะเร็ว ผิวพรรณจะหมองคล้ำ ไม่เต็งตึง พฤติกรรม อารมณ์เปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมีโรคร้ายต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า ซึ่งสิ่งที่ได้ยินต่อ ๆ กันมานี้ มีทั้งจริงและไม่จริง กรณีที่บางอย่างเป็นจริง ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเกิดขึ้นกับวัยทองทุก ๆ คน
อาการ
ในระยะแรก ๆ ที่คนเราจะเข้าสู่วัยทอง จะมีอาการต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตุเห็นได้ชัด เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่ค่อยหลับ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกผิดปกติทั้ง ๆ ที่อากาศไม่ร้อน นอกจากนี้บางคนจะหลงลืมง่าย ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพต่ำลง ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงอายุนั้น แต่บางคนก็เข้าสู่วัยทองโดยไม่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้เลย แต่พบน้อย
การเปลี่ยนแปลง
สำหรับสิ่งที่เราพบได้บ่อยในความเปลี่ยนแปลงของหญิงวัยทองก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน โดยจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงแรก อายุ 40-45 ปี ประจำเดือนจะมาเร็วขึ้น เช่นจากที่เคยมาทุกเดือน จะมาทุก ๆ 3 อาทิตย์
ช่วงที่ 2 อายุประมาณ 45-50 ปี ระยะนี้ประจำเดือนจะเริ่มห่าง เช่นว่าบางคนเดือนครึ่งมาทีหนึ่ง บางคนอาจเป็น 2 เดือน 3 เดือน มาครั้งหนึ่ง
ช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่หมดประจำเดือนจริง ๆ อายุประมาณ 50 ปี ขึ้นไป ประจำเดือนจะหายไปเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเราจะตัดสินว่าคน ๆ นั้นหมดประจำเดือนแล้วจริง ๆ ก็ต่อเมื่อประจำเดือนหายไปครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี
ปัญหาทางร่างกายที่จะเกิดกับวัยทองจะมี 2 ระยะด้วยกันคือ
ผลระยะสั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงก้าวเข้าสู่วัยทอง จนกระทั่งหมดประจำเดือนไปแล้ว ช่วงนี้จะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากผิดปกติ มักเป็นตอนกลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยหน่าย หงุดหงิดง่าย ขี้กังวล นอนไม่หลับ หลงลืม
ผลระยะยาวจะมี 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ โดยบางคนเมื่อหมดประจำเดือนไปนานแล้ว จะพบอาการต่าง ๆ เช่น ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะขัด อีกระบบหนึ่งเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยจะมีความเสี่ยงเพิ่มที่จะเป็นโรคดังกล่าว และระบบที่ 3 เกี่ยวกับภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุน จะพบบ่อยกับผู้ที่หมดประจำเดือนแล้ว 5 ปีขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยง
แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคเหล่านี้ ไม่ได้เป็นกับทุกคน แต่จะเป็นกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น คนที่มีความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ก็จะเสี่ยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด มากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง ซึ่งเสมือนเป็นปัจจัยเร่งนั่นเอง ส่วนภาวะกระดูกบางกระดูกพรุน ก็จะเสี่ยงในกลุ่มคนที่มีพันธุกรรมดังกล่าว ตลอดจนผู้ที่ทานอาหารแคลเซี่ยมน้อยมาเป็นเวลานาน เป็นต้น
การป้องกัน
เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นได้หรือไม่นั้น เป็นคำถามที่มีผู้ถามกันบ่อยมาก จุดนี้ คำตอบคือเราสามารถทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาแล้ว รวมไปถึงการพยายามรับประทานแคลเซี่ยมตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการรับประทานแคลเซี่ยมนี้ เป็นเหมือนกับการฝากธนาคารไว้ก่อน เพราะเมื่อคนเราอายุ 35 ปีแล้ว แคลเซี่ยมในกระดูกจะเริ่มลดต่ำลง ถ้าเราฝากไว้เยอะ เวลาแคลเซี่ยมลดลงก็จะเหลือต้นทุนไว้เยอะ นอกจากนี้ พยายามดูแลตัวเองอย่าให้เป็นเบาหวาน ความดันสูง ด้วยการพยายามลดอาหารไขมันสูง ลดความอ้วน หรือถ้าใครเป็นโรคนี้อยู่ก็พยายามปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอเพื่อลดปัญหาลง
การดูแลรักษาอาการของคนวัยทอง
หลาย ๆ คนจะมีอาการทางด้านอารมณ์ในวัยทอง ซึ่งจริง ๆ แล้วการที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เป็นผลกระทบมาจากการที่ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลง ยิ่งถ้าหากคนรอบข้างไม่เข้าใจ ก็จะยิ่งทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทองมีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์มากขึ้นไปอีก
ส่วนทางด้านร่างกายนั้น จะเป็นไปในรูปของการส่งเสริมสุขภาพมากกว่า อาจจะเข้าปรึกษาแพทย์ตามคลินิควัยทอง เพื่อรับคำแนะนำ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นการให้ยารักษาเสมอไป ส่วนใหญ่เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจภายในเพื่อเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจเลือดเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด การทำงานของตับไต การทำงานของหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติ ถ้าหากพบก็ต้องดูแลรักษาอาการเหล่านั้นต่อไป
การรับประทานฮอร์โมน
การเสริมฮอร์โมนนี้ จะเป็นฮอร์โมนที่เลียนแบบฮอร์โมนที่ผลิตมาจากรังไข่ เพราะวัยทองนี้เป็นวัยที่รังไข่ทำงานน้อยลงจนกระทั่งหยุดทำงานไป ไม่สร้างฮอร์โมนอีก เราจะใช้ฮอร์โมนจากภายนอนเข้าไปทำงานแทน โดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

ผลต่อโรคความดันโลหิตสูง(140/90)
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 35%
การออกกกำลังอย่างสท่ำเสมอจะลดทั้งความดัน systole และ diastole อย่างชัดเจน
คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเสี่ียงชีวิตจากโรคแทรกซ้อน น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง
การออกกำลังจะช่วยเพิ่มอายุ 1-1.5ปี
ผลต่อโรคเส้นเลือดสมอง
อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงเมื่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
เมื่อขึ้นบันไดวันละ 20 ขั้นจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงร้อยละ 20
ผู้ที่ออกกกำลังกายโดยการเดินเร็วๆสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงจะมีอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 40
ผลต่อโรคเบาหวาน
ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 42
ผู้ออกกกำลังมากจนกระทั่งเหงื่อออก 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีอุบัติการของการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 22
ผลต่อหัวใจ
ผู้ที่ไม่ออกกำำลังกายจะมีโอกาศเสียชีวิตเป็นสองเท่าของผู้ที่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น
การออกกำลังกายจะทำให้หัวใจสะสมพลังงานไว้ใช้เมื่อเวลาหัวใจต้องทำงานหนัก
เพิ่มความแข็งแรงในการบีบตัวของหัวใจ
ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ดี)
ลดระดับความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง
ผลต่อมะเร็ง
การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 46
ผลต่อคุณภาพชีวิต
การออกกำลังกาย 1500 กิโลแครอรีต่อสัปดาห์(ออกกำลังกายหนักปานกลาง)จะเพิ่มอายุ 1.57 ปีและลดอุบัติการการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยลง 67
สำหรับผู้สูงอายุทุก 1 ไมล์ที่เดินจะลดอุบัติการเสียชีวิตลงร้อยละ 19
การออกกกำลังอย่างสม่ำเสมอ(อายุ 45-84)จะลดการเสียชีวิตร้อยละ 18

ออกกำลังกายเวลาไหนดีที่สุด

1. ออกกำลังเพื่อลดน้ำหนัก
ถ้าออกกำลังเพื่อพิฆาตความอ้วน เวลาเช้าๆ นี่ล่ะเหมาะที่สุด เพราะเป็นเวลาที่ร่างกายจะนำคาร์โบไฮเดรต จากอาหารมื้อเย็นของเมื่อวานมาใช้เป็นพลังงาน จึงสลายไขมันและเผาผลาญแคลอรีได้ดีกว่าการออกกำลังกายในตอนเย็นเยอะ
2. ออกกำลังเพื่อฟิตกล้ามเนื้อ
สงสัยหนุ่มๆ คงชอบทำข้อนี้มากกว่าสาวๆ เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฟิตกล้ามคือเวลาในช่วงบ่ายเพราะมี ผลการวิจัยบอกว่า กล้ามเนื้อของเราจะพร้อมและใช้งานได้ดีที่สุดตั้งแต่เวลาเที่ยงเป็นต้นไป ส่วนช่วงเช้า กล้ามเนื้อจะยังตื่นตัวไม่เต็มที่นัก
3. ออกกำลังเพื่อผ่อนคลาย
ถ้าอยากออกแรงเพื่อสลายความเครียด ขอแนะนำให้ไปอัพแอนด์ดาวน์เอาตอนบ่ายๆ หรือจะเย็นไปเลยก็ได้ เพราะการออกกำลังกายช่วงนี้จะทำให้หลับสบายในตอน กลางคืน แต่ถ้าไปออกแรงหนักๆ อย่างนี้ในตอนเช้า เดี๋ยวไปง่วงนอนตอนบ่ายแล้วเจ้านายค้อนเอาไม่รู้ด้วย
4. ออกกำลังเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์
ก็เป็นเวลาเช้าอยู่แล้ว เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่าเวลานี้เป็นช่วงที่อากาศแจ่มใสที่สุดของวัน การออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ จะทำให้สมองและร่างกายทุกส่วนรับออกซิเจนได้มากขึ้น จึงจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากที่มา http://www.sarinclinic.com/home.php?section=9&subsection=13

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

5 โรคยอดฮิตของมนุษย์ทำงาน

5 อันดับโรคยอดฮิต เกาะติดชีวิตคนเมือง
1.‘ไมเกรน' โรคปวดศีรษะเรื้อรัง เคยรู้สึกไหมว่าเวลานั่งทำงานเครียดเราจะรู้สึกปวดหัว บริเวณขมับ ด้านหน้าศีรษะหรือหลังต้นคอ นั่นคือ สัญญาณเตือนให้คุณรู้ล่วงหน้าว่า สภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค ‘ไมเกรน' ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเกร็งตัวสะสมของกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ จนจับตัวเป็นก้อนที่เรียกว่า จุด ‘Trigger Point' และจุดดังกล่าวไปกดทับบริเวณเส้นเลือดที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงศีรษะ ทำให้เส้นเลือดหลังจุด‘Trigger Point' เกิดการขยายตัวผิดปกติส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอจึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้น นอกจากนี้ แสงแดด ความร้อน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และการขาดฮอร์โมนบางชนิด ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิด ‘ไมเกรน' ได้เช่นกัน “ไมเกรน” มักจะพบในช่วงอายุ 10-50 ปี อัตราเฉลี่ยเพศหญิง ร้อยละ 18 และเพศชาย ร้อยละ 6 วิธีการดูแลให้ห่างไกลจาก “ไมเกรน” ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทไม่ร้อนจนเกินไป บริหารกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอให้มีการยืดหยุ่นอยู่เสมอเพื่อเลี่ยงการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เปลี่ยนอิริยาบถในการนั่งทำงานเพื่อลดการเกร็งตัวสะสมของกล้ามเนื้อ หรือปรึกษาแพทย์อายุรเวท (แผนไทยประยุกต์) เพื่อทำการกดจุดสลาย ‘Trigger Point' บริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2.สภาวะเสียสมดุล ปกติร่างกายของมนุษย์ถูกออกแบบขึ้น เพื่อรองรับภาวะรบกวนต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมพร้อมขจัดและปรับระบบให้สามารถทำงานได้อย่างปกติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี “สมอง” เป็นจุดศูนย์ รวมของการทำงานของร่างกาย “สมอง”จะทำหน้าที่ออกคำสั่งและส่งคำสั่งนั้นไปตามเส้นประสาทเพื่อไปควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายทุกระบบ รวมทั้งกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ ซึ่งระบบรากประสาททั้งหมดออกมาตามแนวกระดูกสันหลัง แต่หากแนวกระดูกสันหลังเสียสมดุล ไม่อยู่ในแนวความโค้งที่ปกติ (เช่น ค่อม งอ คด แอ่น) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการนั่งทำงานในออฟฟิศที่ผิดวิธี หรือทำงานในลักษณะซ้ำๆตลอดทั้งวัน ทำให้กล้ามเนื้อทานไม่ไหว ร่างกายก็จะฟ้องออกมาในรูปแบบของความเจ็บปวดต่างๆ เช่น ปวดหลังเรื้อรัง ปวดคอ ชาหรือแขนขาไม่มีแรงเป็นต้น ในระยะแรกอาจไม่แสดงผลอย่างชัดเจน แต่ถ้าละเลยอาจรุนแรงถึงขั้นทับเส้นประสาท อาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ หรือแม้แต่ส่งผลให้เป็นโรคภัย, ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติได้ด้วย การดูแลและป้องกันนั้น มีวิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเองทุกวัน โดยคืนความสมดุลให้กับโครงสร้างร่างกาย เช่น การยืดหยุ่นร่างกายไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป เพื่อลดอัตราการเกร็งกล้ามเนื้อ หรือไม่ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักมากเกินไป หรือเพิ่มการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง ทั้งเดิน ยืน นั่ง นอน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อเพราะกล้ามเนื้อเป็นตัวยึดให้กระดูกอยู่ในแนวปกติถือเป็นการคงสภาพให้โครงสร้างร่างกายอยู่ในภาวะที่สมดุล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถทำการปรึกษากับนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการปรับโครงสร้างร่างกาย พร้อมปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินไลฟ์สไตล์ใหม่ได้เช่นกัน
3.กระดูกสันหลังคดงอ ‘อาการปวดหลังเรื้อรัง' หนุ่มสาวชาวออฟฟิศสมัยใหม่ ที่ทำงานนั่งอยู่กับโต๊ะ ใช้ชีวิตคร่ำเคร่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เกือบวันละ 8 ชั่วโมง ใส่ร้องเท้าส้นสูงบ่อยๆ เคยลองสังเกตไหมว่าร่างกายสะสมความอ่อนเพลียและเมื่อยล้าไว้มากขนาดไหน และรู้หรือเปล่าว่านั้นคือสาเหตุเริ่มต้นของโรคปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งโดยค่าเฉลี่ย 80% มักจะเคยมีอาการปวดหลังสักครั้งในชีวิต และกว่า 20% จะพบว่ามีอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง มาจาก ‘กระดูกสันหลังคดงอ' วิธีการรักษาที่นิยมทำกันโดยทั่วไปในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี คือ การรักษาด้วยการให้ยาและกายภาพบำบัดแบบ Passive ซึ่งช่วยลดอาการปวดได้ดี แต่ไม่ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอย่างพอเพียงที่จะป้องกันอาการปวดซ้ำซากในอนาคตได้ ส่วนวิธีการรักษาแบบ ‘Active Rehabilitation' นั้นเป็นแนวทางใหม่ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถระงับปัญหาอาการปวดเรื้อรังได้อย่างถาวร ดีกว่าการรักษาแบบเดิมๆ และการออกกำลังกายที่เน้นตรงกล้ามเนื้อในส่วนที่มีปัญหา โดยออกแบบโปรแกรมให้เข้ากับเฉพาะตัวบุคคล และมีผู้ดูแลควบคุมใกล้ชิดนั้นได้ผลดีกว่าการออกกำลังกายตามลำพังตัวคนเดียวอย่างชัดเจน
4.ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นกล้ามเนื้อต้นคออักเสบ อีกโรคที่คุกคามอย่างเงียบๆ คงจะหนีไม่พ้น ‘ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นกล้ามเนื้อต้นคออักเสบ' หรือ ‘Carpal Tunnel Syndrome (CTS)' ที่กำลังขยายวงกว้างในกลุ่มคนที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆโดยสาเหตุหลักเกิดจากการการใช้ข้อมือในการยึดจับสิ่งของ หรือเม้าส์คอมพิวเตอร์ในท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบและเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมากหรืออาจเกิดจากการทำงานของเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณผ่านท่อนแขนจากข้อศอกไปยังบริเวณข้อมือซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้เกิดอาการปวดของปลายประสาท หรือเส้นเอ็นบริเวณต้นคอเกิดการอักเสบนั้นก็เกิดจากสาเหตุเดียวกัน ทั้งนี้ หากอยากห่างไกลความเสี่ยง ควรเลือกวิธีปฎิบัติง่ายๆ ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือทุก 15-20 นาที แต่ในกรณีที่มีอาการอักเสบรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวการณ์บาดเจ็บที่รุนแรง และลดอัตราการผ่าตัดลง
5.‘หูดับ' โรคประสาทหูเสื่อม อีกหนึ่งภัยคุกคามที่คนเมืองควรรู้กับปัญหา ‘หูดับ' หรือโรคประสาทหูเสื่อม ซึ่งส่วนมากเกิดจากปัจจัยหลายสาเหตุ อาทิ กรรมพันธุ์ โรคบางชนิด หรือปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น ส่งผลให้ระดับการได้ยินเสียงลดลง โดยปกติประสาทหูจะเริ่มเสื่อมทีละน้อยๆ ในช่วงอายุประมาณ 30-50 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในไลฟ์สไตล์ของคนเมืองมากขึ้นสังเกตได้จากค่านิยมในการใช้มิวสิคโฟนผ่านทางมือถือและเครื่อง MP3 การใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อมได้ อย่างไรก็ตาม อาการของประสาทหูเสื่อมสภาพนั้น ในขั้นต้นหากรู้สึกว่าได้ยินเสียงลดลง ได้ยินเสียงไม่ชัดเจนต้องตั้งใจฟังหรือให้คู่สนทนาต้องพูดซ้ำบ่อยๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อตรวจหาสาเหตุความบกพร่องทางการได้ยินพร้อมรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ หรือปรึกษาศูนย์ฯบริการด้านการได้ยิน เพื่อตรวจวัดระดับของการได้ยินพร้อมรับคำปรึกษา และแนวทางฟื้นฟูการฟังเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ แม้ว่าทั้งหมดนี้คือ 5 อันดับโรคยอดฮิตสำหรับคนทำงานแต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีโรคภัยอีกมากมายที่คืบคลานเข้ามาหาตัวเรา ถ้าเรายังเลือกทำแต่งาน แล้วมองข้ามสุขภาพตัวเอง ดังนั้นเราควรใส่ใจตัวเองและหาความสมดุลให้กับชีวิตกันดีกว่า
ที่มาผู้จัดการ